ข้อเท้าแพลง คืออะไร?
อาการแพลงของข้อเท้า เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากข้อเท้าบิด,หมุน หรือพลิกในท่าทางที่ผิดปกติ ซึ่งทำให้เอ็นที่ยึดข้อเท้าเกิดการฉีกขาดได้ โดยข้อเท้าแพลงสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ ข้อเท้าจะมีเส้นเอ็นที่ช่วยในการยึดกระดูกบริเวณข้อต่อไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไปในแต่ละทิศทาง
ข้อเท้าแพลงส่วนใหญ่จะเกิดการบาดเจ็บบริเวณด้านนอกของข้อเท้า การรักษาอาการบาดเจ็บจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาและหมั่นทำกายภาพบำบัดอย่างเหมาะสมจะส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บระยะยาว ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเท้าและบริเวณน่องอ่อนแรงลง นอกจากนี้ยังจะส่งผลถึงความไม่มั่นคงของข้อเท้าซึ่งสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บเรื้อรังขึ้นได้ นี่คือเหตุผลสำคัญว่าทำไมคุณถึงควรมาพบนักกายภาพเฉพาะทางที่ BPC เพื่อให้เราได้ดูแลและทำกายภาพบำบัดอย่างเหมาะสมเพื่อให้ข้อเท้าของคุณกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม
กิจกรรมหรือการกระทำต่อไปนี้คือต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดการข้อเท้าพลิกได้ง่าย
ข้อเท้าแพลงเกิดขึ้นได้อย่างไร
- การออกกำลังกาย หรือ การเล่นกีฬา – โดยกีฬาที่มีการบิดหมุนของข้อเท้า เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เทนนิส แบดมินตัน การวิ่งเทรล (Trail)
- บาดเจ็บจากแรงปะทะ – ระหว่างการเล่นกีฬาที่มีการแข่งขันในบางประเภทที่ภายในทีมหรือฝ่ายตรงข้ามอาจมีการเหยียบเท้าขณะที่คุณกำลังวิ่งทำให้ข้อเท้าบิดหรือหมุน เช่น ขณะทำรีบาวด์ในบาสเก็ตบอลและเท้าเหยียบลงด้านหน้าของนักกีฬาคนอื่น
- การเดินบนพื้นผิวที่ไม่เรียบ – การเดินทางไปทำงานโดยเดินบนทางเท้าที่ไม่เรียบหรือมีพื้นแตก ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดข้อเท้าแพลงเป็นอย่างมาก
- ขาดการวอร์มร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกาย – จะส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่นและไม่ทนต่อแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น
- สวมรองเท้าส้นสูงหรือสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะกับขนาดของเท้า – การสวมรองเท้าส้นสุงส่งผลให้ยากต่อการทรงตัวและเกิดข้อเท้าพลิกค่อนข้างง่ายหากเกิดอุบัติเหตุ เช่นเดียวกับการสวมรองเท้าที่หลวมหรือแน่นเกินไปก็ทำให้ยากต่อการทรงตัวเช่นเดียวกัน
- มีประวัติข้อเท้าแพลงมาก่อน – หากเคยข้อเท้าแพลงมาก่อนแต่ได้รับการรักษาที่ไม่ดีพอก็จะไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าอย่างปกติได้ ซึ่งควรทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเท้าแข็งแรงมากพอเพื่อลดการเกิดข้อเท้าแพลงอีกครั้ง
- การหกล้มที่สาเหตุจากข้อเท้าพลิก – ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้น- ลง บันได ,เสียการทรงตัว หรือขณะลุกจากเตียง
ประเภทและระดับความรุนแรง
- ระดับ 1 (Mild) : เอ็นไม่มีการฉีกขาด หรือฉีกขาดในระดับน้อยมาก
- มีอาการเจ็บบริเวณข้อเท้าเล็กน้อยร่วมกับมีบวมที่ข้อเท้าข้างที่บาดเจ็บ แต่ยังรู้สึกถึงความมั่นคงของข้อเท้า
- ระดับ 2 (Moderate) :เอ็นมีการฉีกขาดบางส่วน รู้สึกถึงความไม่มั่นคงของข้อเท้า ข้อเท้าขยับได้แต่ไม่ปกติ
- บวมรอบข้อเท้าร่วมกับอาการปวด
- เมื่อขยับข้อเท้าจะรู้สึกไม่มั่นคง
- ระดับ 3 (Severe) : เอ็นฉีกขาดทั้งหมด
- ข้อเท้าไม่มีความมั่นคง
- มีอาการปวดอย่างรุนแรงและบวมรอบข้อเท้า
- ไม่สามารถขยับข้อเท้าในทิศทางต่าง ๆ ได้