092-275-5090
English
ไทย

อาการปวดหลังส่วนล่าง

บริเวณหลังส่วนล่างหรือบริเวณเอวใต้ซี่โครงมีความอ่อนไหวต่อการบาดเจ็บเป็นพิเศษ เกือบทุกคนคงจะเคยมีอาการปวดหลังส่วนล่างในระดับหนึ่งในบางช่วงของชีวิต ซึ่งอาการปวดหลังอาจมีอาการเล็กน้อยหรือรุนแรง เกิดขึ้นแบบกะทันหันหรือต่อเนื่อง

เมื่อเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดอันเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน อาการดังกล่าวจะเรียกว่า “เฉียบพลัน” และมักจะดีขึ้นเองหลังจากพักผ่อนและดูแลขั้นพื้นฐาน เช่น การทำกายภาพบำบัดสำหรับการรักษาหลังส่วนล่าง เมื่ออาการปวดหลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่า 3 เดือนจะถือว่าเป็นอาการ “เรื้อรัง” ซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและกายภาพบำบัดอาการเรื้อรังนี้

อาการ

อาการปวดหลังส่วนล่างเฉียบพลัน มักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเหมือนถูกแทงหรือยิงอย่างกะทันหัน ซึ่งอาจรุนแรงมากจนไม่สามารถยืนหรือเคลื่อนไหวได้ชั่วคราว อาการปวดหลังแบบเรื้อรังนี้มักเป็นอาการปวดเมื่อยต่อเนื่อง ซึ่งอาจปวดร้าวไปถึงบริเวณก้นหรือขาด้านหลัง อาการปวดอาจมากขึ้นในบางตำแหน่ง เช่น เมื่องอหรือยืดตัว และจะปวดน้อยลงเมื่อนั่งหรือนอนราบ

อาการปวดหลังเรื้อรังอื่นๆ ได้แก่ ปวดเมื่อยตึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพยายามขยับตัวหลังจากอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน เช่น หลังจากนั่งหรือนอน การเคลื่อนไหวที่จำกัดอาจรวมถึงการยืนตัวตรงไม่ได้

 

ยกของหนัก
กีฬาที่มีการปะทะ
กิจกรรมยามว่าง
ท่าทางที่ไม่เหมาะสม
บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
บาดเจ็บจากการท่าทางซ้ำ ๆ

สาเหตุ

สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างเฉียบพลันอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวกะทันหันหรือการยืดมากเกินไป เช่น เมื่อออกกำลังกายหรือใช้ท่าที่ไม่ถูกต้องในการยกของหนัก ในกรณีเช่นนี้ การบาดเจ็บเบื้องต้นอาจมีเสียงกระดูกลั่น

อาการปวดหลังเรื้อรังมักเป็นผลจากการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูก หนึ่งในสาเหตุหลักของการบาดเจ็บคือการทำงานติดต่อกันยาวนาน งานที่ออกแรงซึ่งต้องใช้การยกหรือเคลื่อนย้ายของหนักเป็นประจำก็ทำให้หลังส่วนล่างมีความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม งานในสำนักงานยังเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังหรือปวดเอวเรื้อรังที่พบบ่อยมากขึ้นเนื่องจากการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมงทุกวันในท่าที่ผิด

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง ได้แก่ อายุ น้ำหนัก และรูปแบบการใช้ชีวิต ผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีมีแนวโน้มที่จะมีอาการปวดหลังมากขึ้น เนื่องจากหมอนรองกระดูกสันหลังที่ค่อยๆ เสื่อมลง ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมักมีอาการปวดหลัง เนื่องจากน้ำหนักที่มากเกินไปจะกดทับกระดูกสันหลังมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือนั่งอยู่กับที่และมักงอตัวจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือมะเร็งบางรูปแบบก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดหลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน

สาเหตุและอาการปวดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

  1. กล้ามเนื้ออักเสบ – จากการยกของหนักหรือมีกิจกรรมที่ใช้แรงอย่างมาก
  2. ลักษณะท่าทางในชีวิตประจำวัน – การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการอยู่ในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ขณะทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ หรืออาการของโรคออฟฟิศซินโดรม หากปล่อยไว้นานๆ อาจจะต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดหลัง
  3. การหิ้ว/สะพายกระเป๋าเป็นเวลานาน – โดยการหิ้วกระเป๋าอย่างหนัก หรือการสะพายกระเป๋าบริเวณไหล่ด้านเดียว จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงล่างตามมา
  4. การออกกำลังกาย – กีฬาที่มีการเคลื่อนไหวในท่าทางเดิมซ้ำๆ (เช่น วิ่ง, ฟุตบอล, บาสเกตบอล) มีการบิดหมุนลำตัวขณะเล่น (เช่น กอล์ฟ, แบดมินตัน, เทนนิส) หรือการใช้น้ำหนักที่มาก (เช่น การยกน้ำหนัก) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงล่างทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังได้
  5. ลักษณะโครงสร้างร่างกายของแต่ละบุคคล – การนั่งในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่จะเป็นปัญหาในระยะต่อมา
  6. การขาดการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อ – เมื่อกล้ามเนื้อถูกใช้งานอย่างหนักและต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน แต่เราละเลยการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกำลังกล้ามเนื้อให้เตรียมพร้อมในการใช้งาน

การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

มีหลายวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง การฉีดคอร์ติโซนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังอาจต้องผ่าตัดในกรณีที่รุนแรงมาก การรักษาโรคกระดูกและกล้ามเนื้อหรือการนวดจัดกระดูกจะช่วยในกระบวนการบำบัด ซึ่งแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดหลัง

เนื่องจากมีการสูญเสียกล้ามเนื้อเมื่ออายุมากขึ้น จึงทำให้หลังมีแนวโน้มที่จะบาดเจ็บได้ง่าย การเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลัง การใช้กลศาสตร์ของร่างกายที่ดี และการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ BPC ที่คลินิกรักษาอาการปวดหลังในกรุงเทพฯ ล้วนเป็นวิธีที่ดีเพื่อให้หลังมีความแข็งแรงอยู่เสมอ BPC ให้บริการกายภาพบำบัดและรักษาอาการปวดหลังในกรุงเทพฯ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดสำหรับอาการปวดหลัง ซึ่งดำเนินการโดยนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการปวดหลังโดยเฉพาะ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังส่วนล่างหากเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบโดยทั่วไปสามารถหายเองได้ หลังจากได้รับการพักผ่อนและทานยาแก้ปวดในช่วง 1-2 วันแรก แต่หากมีอาการปวดนานกว่า 3 เดือน ถือเป็นอาการปวดเรื้อรัง ที่ควรได้รับการกายภาพบำบัด ยืดกล้ามเนื้อและเสริมสร้างความแข็งแรง
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้งานที่มากเกินไปหรือใช้งานไม่เหมาะสม ความเสื่อมของกระดูก อุบัติเหตุ การเล่นกีฬาและอื่นๆ หรือแม้แต่โรคไต โรคกระเพาะอาหาร และภาวะซึมเศร้า ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้
การทำกายภาพบำบัด จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อด้วยท่าบริหารที่เหมาะสมตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ไม่ว่าจะเป็น อัลตร้าซาวน์ เลเซอร์ ที่ช่วยให้การฟื้นฟูไวขึ้น
ควรพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ ลดการเคลื่อนไหวในท่าที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด ยืดกล้ามเนื้อ และสามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ด้วยการประคบเย็นในช่วง 48 ชั่วโมงหลังจากบาดเจ็บ และประคบร้อน เมื่อไม่มีการอักเสบ
อาการปวดหลังส่วนล่างอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคช่องกระดูกสันหลังตีบ โรคกระดูกเสื่อม โรคกระดูกสันหลังติดเชื้อ หรือโรคกระดูกทับเส้นประสาท เป็นต้น และหากมีอาการชา แขนขาอ่อนแรง มีไข้ ปวดหลังจนนอนไม่หลับ ขับถ่ายผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์
หากมีอาการปวดหลังเรื้อรังมามากกว่า 3 เดือน และรุนแรงขึ้น โดยมีอาการอื่นร่วม เช่น แขนขาอ่อนแรง มีไข้ ปวดท้อง จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้พบแพทย์จะดีที่สุด
อาการปวดหลังสามารถบ่งบอกได้ถึง โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคกระดูกสันหลังเสื่อม โรคไต หรือโรคนิ่ว เป็นต้น
หากยังมีอาการปวดหลังอยู่ควรหลีกเลี่ยงการนั่งพื้นที่ทำให้น้ำหนักลงไปที่กระดูกสันหลังบริเวณเอว หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ต่ำแต่ควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงที่ถูกต้อง งดการก้มลงยกของหนัก และไม่ควรนอนคว่ำ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่น งดการใส่รองเท้าส้นสูง รวมถึงงดสูบบุหรี่เพราะจะยิ่งทำให้กระดูกเสื่อมและยุบตัวเร็วขึ้น
ท่านั่งที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยและเกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ การนั่งนานๆ โดยไม่ขยับเลยจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งและเกิดกรดแลคติกที่ทำให้มีอาการเมื่อยล้า
ให้นั่งหลังตรงแนบกับพนักพิง ไม่โน้มตัวไปข้างหน้ามองจอคอมพิวเตอร์ แนะนำให้ใช้หมอนมาหนุนรับส่วนโค้งให้พอดีกับหลังส่วนล่าง และควรวางเท้าราบกับพื้น

4 ขั้นตอนการบำบัดของ BPC ที่กำหนดขึ้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อนำคุณไปสู่การฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์แบบและส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับผิดชอบสุขภาพของตัวเองผ่านโปรแกรมการออกกำลังกายที่กำหนดขึ้นแบบเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคล

Road To Recovery
REDUCE Pain

ขั้นตอนแรกของการรักษา คือการลดอาการปวดแบบทันที เราจะใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องเลเซอร์ และเครื่อง shockwave เพื่อลดความไม่สบายตัวและอาการปวดกล้ามเนื้อ นี่จะช่วยให้ร่างกายของคุณผ่อนคลาย และกลับไปใช้งานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง

RELAX Muscle

เราใช้การรักษาแบบ “หัตถการ” หรือ การบำบัดด้วยมือ โดยนักบำบัดของเราจะใช้มือวิธีนวดมือกับผู้ป่วยเพื่อช่วยผ่อนคลายข้อต่อ บรรเทาอาการเจ็บปวดของเนิ่อเยื่ออ่อนและคลายเส้นประสาท ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ยึดตึง คุณจะสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

RANGE Increase

เมื่อกล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลายแล้ว นักบำบัดของเราจะทำการเพิ่มขอบเขตการเคลื่อนไหวให้คุณ เพื่อให้ข้อต่อหรือกล้ามเนื้อที่ไม่เจ็บแล้วสามารถให้งานได้อย่างเต็มที่ หลังจากทำการบำบัดในขั้นตอนนี้ร่ววมกับนักบำบัดของเรา คุณจะเคลื่อนไหวได้ดีมากขึ้น เร็วขึ้นและยังได้เทคนิคการเคลื่อนหวเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในอนาคตเพิ่มด้วย และเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น คุณจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนของการฟื้นฟูร่างกายด้วยการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

RECOVERY

เพื่อให้ขั้นตอนการรักษาสมบูรณ์ พวกเราได้สร้างแผนการรักษาในรูปแบบที่ถูกต้องและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าความเจ็บปวดและการอักเสบจะไม่กลับมาอีก ซึ่งจะทำให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีความสุขมากขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังได้ใช้เวลามากขึ้นกับคนที่คุณรักอีกด้วย

Let Us Treat You

Whether you’re sick or in good health,
we have the best place to assist you.