092-275-5090
English
ไทย

คลินิกกายภาพบำบัดหัวไหล่ติด รักษาอาการปวดไหล่

อาการของผู้ที่มีภาวะข้อไหล่ติดมักจะมีการแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระยะของโรค บางคนมักจะปวดไหล่ขวา บางคนปวดไหล่ซ้ายหรือปวดหัวไหล่ร้าวลงแขน ซึ่งอาการปวดกล้ามเนื้อหรืออาการไหล่ติดนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดกับบริเวณหัวไหล่ในอดีต หรือเส้นเอ็นหัวไหล่อักเสบ หรืออาการของโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ทำให้รู้สึกปวดกล้ามเนื้อหรือติดข้อขัดในตอนกลางคืน เอื้อมมือไม่สุดหรือขยับแขนไปด้านหลังไม่ได้ ดังนั้นจึงควรเข้าพบแพทย์และทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี

เช็คอาการไหล่ติด 3 ระยะ

อาการไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี โรคไหล่ติดสามารถหายเองได้ด้วยการออกกำลังกายหรือบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ อาการหัวไหล่ติดสามารถเริ่มดูได้จากการยกไหล่ไม่สุด เอามือไขว้หลังไม่ได้ เจ็บไหล่ขณะเคลื่อนไหว หรือเอื้อมมือหยิบของจากที่สูงไม่ได้ เป็นต้น เราสามารถเช็คอาการไหล่ติดตามระยะของได้อาการได้ 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะข้อไหล่อักเสบ – เป็นระยะของข้อไหล่หรือกล้ามเนื้อไหล่อักเสบรุนแรง จะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณหัวไหล่หรือเจ็บไหปลาร้าแม้ได้ขยับหรือใช้งาน อาการปวดจะรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถขยับหัวไหล่ได้ ระยะนี้จะเป็นนาน 6 สัปดาห์ถึง 9 เดือน
  2. ระยะข้อไหล่ติด – อาการปวดกล้ามเนื้อไหปลาร้า ปวดไหล่ ไหล่ติดและเอ็นหัวไหล่อักเสบแบบระยะแรกจะลดลง แต่อาการของข้อไหล่ติดจะเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการขยับแขนจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-9 เดือน
  3. ระยะไหล่ฟื้นตัวอาการไหล่ติดจะค่อย ๆ ดีขึ้น สามารถขยับแขนได้มากขึ้น ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 2 ปี ในการฟื้นตัว

จะเห็นได้ว่าระยะเวลาในการรักษาข้อไหล่อักเสบหรือกล้ามเนื้อหัวไหล่อักเสบนั้นค่อนข้างนาน โดยจะใช้เวลาเกือบ 2-3 ปี อีกทั้งยังอาจจะเสี่ยงต่อการที่หัวไหล่ไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่สามารถกลับมาใช้งานได้อีก หากไม่ได้รับการรักษาหรือกายภาพหัวไหล่ที่ถูกต้อง หรือปล่อยให้กล้ามเนื้อไหล่อักเสบเรื้อรัง

สาเหตุจากงาน
การกระชาก
ยกของหนัก
กีฬาที่มีการปะทะ
มีการกระแทกอย่างรุนแรง
การเคลื่อนไหวเหนือศีรษะ

อาการไหล่ติดหรือปวดหัวไหล่ร้าวลงแขนต้องรักษาอย่างไร

อาการนี้สามารถหายเองได้ แต่ต้องอาศัยเวลานานพอสมควร แต่หากไม่รีบรักษาให้ถูกตามอาการอาจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวไหล่ลีบลงได้ หากสังเกตุว่าตัวเองมีอาการปวดไหล่เฉียบพลันหรือเจ็บหัวไหล่เรื้อรังก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยแยกโรค และรักษาอาการปวดให้หายก่อน แล้วค่อยออกกำลังกายเพื่อเหยียดยืดกล้ามเนื้อ แต่ในกรณีที่มีอาการข้อไหล่ติดหรือมีเอ็นไหล่อักเสบร่วมด้วย ควรทำกายภาพไหล่ติด หรือ Shock Wave

  • กายภาพบำบัดไหล่ติด

การกายภาพไหล่ติด เป็นการรักษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการขยับให้มากขึ้น จะเป็นการยืดเพื่อให้เยื่อบุที่หนาและแข็งตัวบริเวณหัวไหล่นิ่มลงและยืดหยุ่นขึ้น ซึ่ง BPC คลินิกกายภาพบำบัดรักษาอาการหัวไหล่ติด กรุงเทพ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลและทำการกายภาพให้อย่างตรงจุด ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและให้หัวไหล่กลับมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

  • ทานยาแก้ปวดหรือฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบ

อีกวิธีหนึ่งของการรักษาอาการไหล่ติด คือ การฉีดยาในกลุ่มสเตียรอยด์เข้าข้อหัวไหล่ เพื่อลดการอักเสบของเยื่อบุข้อไหล่ ซึ่งจะทำร่วมกับการกายภาพบำบัดไหล่ติด เพื่อให้ดัดหัวไหล่ได้ง่ายและบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับการใช้ยาแก้ปวดก็จะให้ตามอาการไปพร้อม ๆ กับการกายภาพบำบัดด้วย

  • การผ่าตัดหัวไหล่

นี่จะเป็นวิธีรักษาอันดับสุดท้ายที่แพทย์จะเลือกใช้ ซึ่งจะใช้สำหรับผู้ป่วยที่อาการหนักมาก โดยแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อตัดเลาะเนื้อเยื่อบุข้อไหล่ที่หนาและแข็งตัวออก จากนั้นก็จะพักฟื้น 1-2 วันก่อนทำกายภาพหลังผ่าไหล่เป็นอันดับต่อไป

หลังจากเข้ารับการรักษาอาการปวดไหล่ด้วยการกายภาพบำบัดแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องดัดข้อไหล่อย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้สามารถเข้าสู่ระยะการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น การกายภาพไหล่ติดจำเป็นที่จะต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สามารถออกแบบการรักษาให้ตรงกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนได้ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาและช่วยให้หัวไหล่ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดไหล่และข้อไหล่ติด

ระยะของข้อไหล่ติดจะมีอยู่ 3 ระยะ คือ อักเสบ ข้อยึด และฟื้นตัว ซึ่งแต่ละระยะจะใช้เวลาประมาณ 6-9 เดือน ซึ่งหมายความว่า หากต้องการปล่อยให้อาการไหล่ติดหายไปเองได้จะต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี การทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดการปวด การอักเสบ ช่วยเพิ่มมุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ และทำให้การฟื้นฟูเร็วขึ้น
การรักษาและฟื้นฟูร่างกายจากอาการไหล่ติด จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย
อาการปวดบ่าไหล่ สามารถเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุ การใช้งานต่อเนื่องนานเกินไปจนเกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อข้อไหล่ฉีกขาด การติดเชื้อแบคทีเรีย โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ และถุงน้ำข้อไหล่อักเสบ เป็นต้น
หากมีอาการปวดให้งดยกของหนัก และใช้ผ้าคล้องแขนไว้ และหยุดการใช้งานไหล่ 2-3 วัน และเพื่อบรรเทาอาการอักเสบควรประคบเย็น จากนั้นให้ประคบร้อนหลังจากที่อาการอักเสบลดลง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และหากมีอาการปวดเรื้อรังควรเข้าทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยเพิ่มช่วงมุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังทำกายภาพ อาจมีสาเหตุจากการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น ซึ่งจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัด
โรคที่เกิดจากอาการปวดไหล่ที่พบบ่อยมักเกิดจาก ภาวะเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีก ข้อไหล่ติด และข้อไหล่อักเสบ โดยข้อไหล่อักเสบมักพบว่าเกิดจากโรคข้อเสื่อมและโรครูมาตอยด์ นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับวัณโรคปอด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกระดูกต้นคอเสื่อมได้ด้วย
กล้ามเนื้อไหล่อักเสบที่เกิดจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย จะสามารถทุเลาลงได้ใน 3-4 วัน แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
อาการปวดไหล่ตอนกลางคืน เป็นสัญญาณของโรคเอ็นข้อไหล่อักเสบ โรคเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด กระดูกทับเส้นประสาท แคลเซียมเกาะกระดูกข้อไหล่เสื่อม จึงไม่ควรปล่อยไว้ โดยไม่รับการรักษา
เส้นเอ็นอักเสบ เกิดจากการออกแรงมากเกินไป การยกของหนัก การออกแรงเหวี่ยง ออกกำลังกายอย่างไม่สม่ำเสมอ การเล่นกีฬา การใส่ส้นสูงและการเดินหรือวิ่งเร็ว รวมถึงการใช้กล้ามเนื้อเอ็นบริเวณเดิมนานๆ จนเส้นเอ็นตึงขึ้น ผู้ที่มีอายุมากจะเสี่ยงต่อเส้นเอ็นอักเสบมากที่สุด เพราะเอ็นกล้ามเนื้อเริ่มมีความยืดหยุ่นน้อยลง
ไหล่ติดไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ก็สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตได้ แต่หากมีอาการไหล่ติดที่เกิดจากโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการกายภาพบำบัดเพื่อแก้ไขปัญหาไหล่ติด
การกายภาพบำบัดไหล่ติดจะแบ่งการรักษาเป็นช่วง ในช่วงที่ยังมีการอักเสบเยอะอยู่ การกายภาพจะเน้นไปที่การลดอักเสบโดยการใช้ประคบเย็น เลเซอร์ soft tisue mobilization หลังจากที่การอักเสบลดลง นักกายภาพจะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยในแต่ละราย เพื่อเน้นคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มช่วงมุมการเคลื่อนไหวโดยคนไข้จะรู้สึกตึงๆ แต่ยังไม่ถึงขั้นเจ็บปวด

4 ขั้นตอนการบำบัดของ BPC ที่กำหนดขึ้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อนำคุณไปสู่การฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์แบบและส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับผิดชอบสุขภาพของตัวเองผ่านโปรแกรมการออกกำลังกายที่กำหนดขึ้นแบบเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคล

Road To Recovery
REDUCE Pain

ขั้นตอนแรกของการรักษา คือการลดอาการปวดแบบทันที เราจะใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องเลเซอร์ และเครื่อง shockwave เพื่อลดความไม่สบายตัวและอาการปวดกล้ามเนื้อ นี่จะช่วยให้ร่างกายของคุณผ่อนคลาย และกลับไปใช้งานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง

RELAX Muscle

เราใช้การรักษาแบบ “หัตถการ” หรือ การบำบัดด้วยมือ โดยนักบำบัดของเราจะใช้มือวิธีนวดมือกับผู้ป่วยเพื่อช่วยผ่อนคลายข้อต่อ บรรเทาอาการเจ็บปวดของเนิ่อเยื่ออ่อนและคลายเส้นประสาท ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ยึดตึง คุณจะสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

RANGE Increase

เมื่อกล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลายแล้ว นักบำบัดของเราจะทำการเพิ่มขอบเขตการเคลื่อนไหวให้คุณ เพื่อให้ข้อต่อหรือกล้ามเนื้อที่ไม่เจ็บแล้วสามารถให้งานได้อย่างเต็มที่ หลังจากทำการบำบัดในขั้นตอนนี้ร่ววมกับนักบำบัดของเรา คุณจะเคลื่อนไหวได้ดีมากขึ้น เร็วขึ้นและยังได้เทคนิคการเคลื่อนหวเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในอนาคตเพิ่มด้วย และเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น คุณจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนของการฟื้นฟูร่างกายด้วยการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

RECOVERY

เพื่อให้ขั้นตอนการรักษาสมบูรณ์ พวกเราได้สร้างแผนการรักษาในรูปแบบที่ถูกต้องและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าความเจ็บปวดและการอักเสบจะไม่กลับมาอีก ซึ่งจะทำให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีความสุขมากขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังได้ใช้เวลามากขึ้นกับคนที่คุณรักอีกด้วย

Let Us Treat You

Whether you’re sick or in good health,
we have the best place to assist you.