092-275-5090
English
ไทย

คลินิกกายภาพบำบัดข้อศอก รักษาอาการปวดข้อศอก

อาการเจ็บข้อศอก เป็นอีกหนึ่งการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยกับบุคคลทั่วไป ที่ทำงานในลักษณะที่ต้องใช้ข้อมือหรือข้อศอกเป็นเวลานาน รวมถึงนักกีฬาที่ใช้ข้อมือหรือกระดกข้อมือบ่อย ๆ เช่น การเล่นเทนนิส กอล์ฟ หรือแบดมินตัน เป็นต้น หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาการปวดข้อศอกอย่างถูกต้องจากคลินิกกายภาพบำบัดข้อศอก ก็จะยิ่งทำให้เส้นเอ็นฉีกหรือเกิดการอักเสบเรื้อรังได้

สาเหตุของอาการปวดข้อศอกด้านใน (โรคข้อศอกนักกอล์ฟ)

อาการปวดข้อศอกด้านใน หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคข้อศอกนักกอล์ฟ (Golfer’s Elbow) จะเกิดขึ้นในขณะที่บิดข้อศอกเข้าด้านใน หรือกระดกข้อมือลงด้านล่าง ซึ่งสาเหตุเกิดจากเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มข้อศอกด้านในอักเสบ การเคลื่อนไหวหรือใช้แรงข้อมือหรือนิ้วมากจนเกินไปจะกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบของเส้นเอ็นข้อมือและข้อศอกมากขึ้นได้

กีฬาพวกแร็กเกต
สาเหตุจากงาน
นักดนตรี
กีฬาประเภทอื่น
งานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์
งานบ้าน

แก้อาการปวดข้อศอกด้านใน

หากมีอาการปวดศอกด้านใน ผู้ป่วยสามารถใช้ท่าบริหารเพื่อรักษาอาการกอล์ฟเอลโบ ด้วยการหงายมือ เหยียดศอกให้ตรง และเหยียดนิ้วมือออก กระดกข้อมือขึ้นเบา ๆ อาจใช้มืออีกข้างช่วยยืดข้อศอก ทำค้างไว้ 20-30 วินาที และทำซ้ำ 5-10 ครั้ง อย่างน้อยวันละ 2 รอบ

แต่สำหรับผู้ป่วยที่เจ็บศอกด้านในเรื้อรังเป็นเวลานาน ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดก่อน จากนั้นให้พักการใช้ข้อมือ โดยให้ใช้ถุงประคบเย็นและยาแก้อักเสบเพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บ หลังจากนั้นก็เข้าทำกายภาพบำบัดข้อศอกเป็นอันดับต่อไป

สาเหตุของอาการปวดข้อศอกด้านนอก (โรคเทนนิสเอลโบ)

อาการของโรคเอ็นข้อศอกด้านนนอกอักเสบ หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคเทนนิสเอลโบ (Tennis elbow) จะมีอาการปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอกเวลาที่ขยับหรือหมุนข้อศอก รวมถึงการสะบัดมือแรง ๆ หรือขณะที่กำสิ่งของไว้ในมือ ซึ่งอาการเจ็บเอ็นข้อศอกด้านนอกเกิดจากการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มข้อศอกที่ถูกใช้งานเป็นเวลานาน เช่น ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์นานจนปวดคอบ่าไหล่ลามลงไปที่แขนช่วงล่าง ช่างที่ต้องใช้ไขควงหรือสว่านเป็นเวลานาน เป็นต้น

โดยปกติแล้ว เอ็นกล้ามเนื้อที่ปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอกจะไม่แข็งแรง และยืดเหยียดได้น้อย ทำให้กล้ามเนื้อหลังท่อนแขนด้านล่างมักเกิดอาการบาดเจ็บ

แก้อาการปวดข้อศอกด้านนอก

การรักษาเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบของผู้มีอาการเจ็บศอกด้านนอกเบื้องต้น สามารถใช้ท่าบริหารบรรเทาอาการได้ด้วยการทำท่ากำมือ เหยียดศอกให้ตรง แล้วคว่ำมืองอข้อมือลง ทำค้างไว้ 20-30 วินาที และทำซ้ำ 5-10 ครั้ง วันละ 2 รอบ อาจใช้มืออีกข้างช่วยยืดข้อศอก

หากมีปวดเอ็นข้อศอกด้านนอกเป็นเวลานาน และมีอาการปวดมาก ลามไปบริเวณแขน แสดงว่าเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ การรักษาเทนนิสเอลโบจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญและรับการกายภาพเอ็นข้อศอกอักเสบอย่างถูกต้อง

ปวดข้อศอกแบบไหน ต้องรักษาด้วยการกายภาพบำบัด

โดยทั่วไปแล้ว การเจ็บข้อศอกที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ สามารถหายได้เอง ด้วยการทานยาหรือพักการใช้งานข้อศอก แต่หากพบว่าอาการปวดกล้ามเนื้อข้อศอกหรืออาการปวดข้อศอกร้าวลงแขนไม่ดีขึ้นหลังจากพักใช้งานหรือประคบเย็น และข้อศอกติดโดยไม่สามารถเหยียดหรืองอแขนได้ตามปกติ รวมไปถึงมีอาการบวมแดง ร้อนบริเวณข้อศอกจนมีไข้ร่วม ให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดและเข้ารับการรักษาด้วยการกายภาพข้อศอก หรือการผ่าตัดรักษาเอ็นข้อศอกต่อไป

สำหรับการรักษาผู้มีอาการปวดข้อศอกเรื้อรังนั้น คลินิกกายภาพบำบัดรักษาอาการปวดข้อศอกจะมีวิธีการรักษาหลากหลายวิธีเพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น การใช้แสงเลเซอร์ การใช้ Shockwave การนวดข้อศอกร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น การกายภาพบำบัดเอ็นข้อศอกหรือกายภาพบำบัดข้อศอกหักจะเน้นเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกระดูกข้อศอกด้วย ซึ่งจะช่วยรักษาอาการปวดตามข้อศอกเรื้อรังลงได้

นอกจากนี้อาการเจ็บข้อศอกเรื้อรังหรือปวดข้อศอกมือชา อาจจะไม่ได้เกิดจากการใช้งานข้อมือหรือข้อศอกซ้ำ ๆ เท่านั้น แต่อาจเกิดจากโรครูมาตอยด์ โรคปลายประสาทอักเสบหรือโรคข้ออักเสบติดเชื้ออื่น ๆ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดข้อศอก

หากอาการไม่รุนแรงมาก สามารถทานยาแก้ปวดและรักษาให้หายเองได้ ภายใน 3-7 วัน
เอ็นข้อศอกอักเสบสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์
สาเหตุของอาการอักเสบเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณนั้นซ้ำๆ เป็นเวลานาน และบางรายอาจเกิดจากโรครูมาตอยด์และโรคเกาต์
ที่รัดข้อศอกหรือผ้าพยุงข้อศอก จะช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยประคองและปรับสรีระให้สามารถเคลื่อนไหวข้อศอกได้ดีขึ้น
อาการปวดข้อศอกที่เกิดจากการยกของหนัก และปวดมากขึ้นเมื่อขยับข้อมือหรือกำมือแน่นๆ อาการปวดจะค่อยๆ ลดลงหลังจาก 6-12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
การรักษาอาจใช้เวลานานหลายเดือน เนื่องจากเส้นเอ็นเป็นส่วนที่ฟื้นฟูได้ค่อนข้างช้า จำเป็นที่จะต้องพักการใช้งานและควรบริหารเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงอย่างถูกต้อง
เป็นกล้ามเนื้อกลุ่ม flexor group ที่ทำหน้าที่งอนิ้วมือ คว่ำมือ หากมีอาการอักเสบจะรู้สึกปวดร้าวลงที่แขน ข้อมือและนิ้วมือ
เกิดจากหมอนรองข้อมือได้รับบาดเจ็บ ที่อาจเกิดจากการหกล้มแล้วใช้มือยันพื้น หรือการใช้ข้อมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน เป็นต้น

4 ขั้นตอนการบำบัดของ BPC ที่กำหนดขึ้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อนำคุณไปสู่การฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์แบบและส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับผิดชอบสุขภาพของตัวเองผ่านโปรแกรมการออกกำลังกายที่กำหนดขึ้นแบบเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคล

Road To Recovery
REDUCE Pain

ขั้นตอนแรกของการรักษา คือการลดอาการปวดแบบทันที เราจะใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องเลเซอร์ และเครื่อง shockwave เพื่อลดความไม่สบายตัวและอาการปวดกล้ามเนื้อ นี่จะช่วยให้ร่างกายของคุณผ่อนคลาย และกลับไปใช้งานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง

RELAX Muscle

เราใช้การรักษาแบบ “หัตถการ” หรือ การบำบัดด้วยมือ โดยนักบำบัดของเราจะใช้มือวิธีนวดมือกับผู้ป่วยเพื่อช่วยผ่อนคลายข้อต่อ บรรเทาอาการเจ็บปวดของเนิ่อเยื่ออ่อนและคลายเส้นประสาท ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ยึดตึง คุณจะสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

RANGE Increase

เมื่อกล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลายแล้ว นักบำบัดของเราจะทำการเพิ่มขอบเขตการเคลื่อนไหวให้คุณ เพื่อให้ข้อต่อหรือกล้ามเนื้อที่ไม่เจ็บแล้วสามารถให้งานได้อย่างเต็มที่ หลังจากทำการบำบัดในขั้นตอนนี้ร่ววมกับนักบำบัดของเรา คุณจะเคลื่อนไหวได้ดีมากขึ้น เร็วขึ้นและยังได้เทคนิคการเคลื่อนหวเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในอนาคตเพิ่มด้วย และเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น คุณจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนของการฟื้นฟูร่างกายด้วยการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

RECOVERY

เพื่อให้ขั้นตอนการรักษาสมบูรณ์ พวกเราได้สร้างแผนการรักษาในรูปแบบที่ถูกต้องและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าความเจ็บปวดและการอักเสบจะไม่กลับมาอีก ซึ่งจะทำให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีความสุขมากขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังได้ใช้เวลามากขึ้นกับคนที่คุณรักอีกด้วย

Let Us Treat You

Whether you’re sick or in good health,
we have the best place to assist you.